แชร์

Financial Pyramid for Non-Finance วางแผนการเงินด้วยปิรามิดทางการเงินสำหรับผู้ไม่ใช่นักการเงิน

อัพเดทล่าสุด: 27 ก.ย. 2024
389 ผู้เข้าชม
Financial Pyramid for Non-Finance วางแผนการเงินด้วยปิรามิดทางการเงินสำหรับผู้ไม่ใช่นักการเงิน

วางแผนการเงินด้วยปิรามิดทางการเงินสำหรับผู้ไม่ใช่นักการเงิน
(Financial Pyramid for Non-Finance)

เงิน ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เงินเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าทุกคนจะรู้อยู่ตลอดเวลาว่า เงิน มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวัน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้จักวางแผนการเงินของตัวเอง


เราทุกคนสามารถวางแผนการเงินของตัวเองได้ แม้ว่าจะไม่ใช่นักการเงิน ด้วยการเรียนรู้ ปิรามิดทางการเงิน รูปทรงสามเหลี่ยมที่เป็นวิธีการวางแผนการเงิน ที่แบ่งระดับการใช้เงินตามความจำเป็นทางการเงินสำหรับคนทั่วไป


ปิรามิดทางการเงิน คือ การวางแผนทางการเงินที่เรียงลำดับความสำคัญ ก่อน - หลัง โดยเริ่มจากการวางรากฐานทางการเงินให้แข็งแรง แบ่งเป็น 3 ระดับ

1.การป้องกัน (Protection)
2.การออม (Saving)
3.การลงทุน (Investment)





1.Protection : การป้องกัน หรือ ความคุ้มครองทางการเงิน
 
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นรากฐานของการวางแผนทางการเงิน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.เงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Cash)
2.การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
 
เราควรมีการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไว้ 3 - 6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำ เพราะเรื่องไม่คาดฝันมักจะเกิดขึ้นกับเราได้อยู่ตลอด เช่น ขายสินค้าไม่ได้ ถูกออกจากงาน เป็นต้น และการจัดการความเสี่ยง ซึ่งเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่ดีคือ การประกัน เป็นวิธีการโอนย้ายความเสี่ยงไปไว้ที่อื่น เพื่อให้เราสามารถรับมือได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเข้ามานั่นเอง โดยการประกันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

Life : คือการประกันชีวิต ที่คุ้มครองชีวิต ทุพพลภาพ สุขภาพ (ค่ารักษาพยาบาล) โรคร้ายแรง รวมทั้ง แบบสะสมทรัพย์ บำนาญ และ ประกันควบการลงทุน

Non-Life คือ การประกันวินาศภัย เช่น บ้าน รถ อุบัติเหตุ ทรัพย์สิน


2. การออม (Saving)

การเก็บเงินแบบมีเป้าหมาย จะทำให้มีการวางแผนการออมเงิน เพราะเราจะรับรู้ได้ว่าเราจะออมเงินไว้เพื่อใช้อะไร โดยแบ่งวางแผนการออมเงินเป็น 2 ประเภท

Short Term (ST) โดยมีระยะเวลาออมเงินอยู่ที่ 0 - 7 ปี เช่น การซื้อรถ ซื้อบ้าน แต่งงาน การท่องเที่ยว

Long Term (LT) โดยมีระยะเวลาในการออมเงิน 7 ปีขึ้นไป เช่น การวางแผนเพื่อมีเงินใช้จ่ายยามเกษียณ การวางแผนออมเงินไว้เป็นมรดก และ วางแผนการศึกษาหรือค่าเทอมลูก

 

3. การลงทุน (Investment)

เมื่อเราวางแผนการเงินตามขั้นตอน เราก็สามารถแบ่งเงินอีกส่วนหนึ่งมาใช้ในการลงทุน ซึ่งอาจจะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นมาก หรือสามารถรับความเสี่ยงได้หากผลตอบแทนไม่ได้ตามที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งการลงทุนก็สามารถทำได้ตามความถนัด ความสนใจ และความรู้ในการลงทุนแต่ละประเภท เช่น การลงทุนในอสังหา หุ้น เหรียญคริปโต การซื้อทองคำ สินค้าแบรนด์เนม เป็นต้น


จะเห็นว่าการวางแผนทางการเงินด้วยปิรามิดทางการเงิน จะช่วยให้เราสามารถจัดสรรการเงินได้อย่างเป็นระบบ ด้วยการวางรากฐานการเงินให้แข็งแรงมีเงินสำรองฉุกเฉิน มีการประก้นความเสี่ยงที่มาคุ้มครองการเงินและสุขภาพของเราให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รู้จักการแบ่งเงินออมอย่างมีเป้าหมาย และจัดสรรเงินมาลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่มากขึ้น

การวางแผนการเงินด้วยปิมามิดทางการเงิน เป็นวิธีที่ได้ผลและสามารถทำได้ด้วยตนเอง หรือทักไลน์มารับคำปรึกษาทางการเงินจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจาก คปภ. และ กลต. โดยตรงที่  LINE OA : Fin & life by Deedy (https://lin.ee/1CfipTy)

บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไมเราทุกคน จึงต้องรู้เรื่องการบริหารเงินและการลงทุน
วันนี้ จะมาชวนพวกเรามา #บริหารเงินกัน และเริ่มลงทุนเพื่อมีเงินใช้ไปตลอดอายุขัยของเรากันค่ะ อ.กรกนก จึงภักดี จะเล่าให้ฟัง
23 ก.พ. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy